ซากโบสถ์เซนต์ปอล สัญลักษณ์ประจำเมืองมาเก๊า

Posted by admin on January 21st, 2015 — Posted in โอกาสทางธุรกิจ

  Tags:

ซากโบสถ์เซนต์ปอล ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองมาเก๊า

มีประวัติความเป็นมายาวนานและมีเรื่องราวเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ ซึ่งโบสถ์เซนต์ปอลถูกสร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1602 แล้วเสร็จในปีค.ศ. 1637 ออกแบบโดยพระนิกายเยซูอิตชาวอิตาเลียนโดยความช่วยเหลือของคริสเตียนชาวญี่ปุ่น เป็นโบสถ์คาทอลิกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเวลานั้น ตั้งอยู่ติดกับวิทยาลัยเยซูอิตแห่งเซนต์ปอล ซึ่งเป็นสถานศึกษาแห่งแรกของชาวตะวันตกในแดนตะวันออกไกลซึ่งมิชชันนารีผู้ เผยแพร่ศาสนาใช้เป็นที่เรียนภาษาจีนที่มาเก๊าก่อนที่จะเดินทางเข้าแผ่นดินใหญ่ โดยซากโบสถ์เซนต์ปอลที่มาเก๊าเป็นสถานที่ที่มีความสวยงาม เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ชิ้นหนึ่งซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าไปเยี่ยมชม ให้เราได้สัมผัสถึงเสน่ห์ความเป็นยุโรปท่ามกลางบรรยากาศเอเชียได้เป็นอย่างดี

ต่อมาในปีค.ศ.1991 มีการบูรณะซ่อมแซมและจัดสร้างบริเวณด้านหลังของซากประตูโบสถ์ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศาสนา ซึ่งมีการรวบรวมภาพเขียนและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบทางพิธีทางศาสนต่างๆ เอาไว้ให้นักท่องเที่ยวเข้าชม หลังจากนั้น “ซากโบสถ์เซนต์ปอล” ก็ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลกอีกแห่งหนึ่งที่อยู่บนมาเก๊าในปีค.ศ.2005 กลายเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกให้ไปเยือนเกาะมาเก๊าได้เป็นจำนวนมาก ด้วยมนต์เสน่ห์ของซากโบสถ์เซนต์ปอลทำให้นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสความเป็นยุโรปได้ผ่านทางมรดกโลกแห่งนี้ แม้จะอยู่ท่ามกลางบรรยากาศความเป็นเอเชียแบบชาวจีนในย่านการค้าที่มีนามว่าจัตุรัสเซนาโด้ ซึ่งอยู่บริเวณใจกลางของเกาะมาเก๊า

โบสถ์มาแตร์ เดอีเดิม วิทยาลัยเซนต์ปอล (St.Paul’s College) และป้อมปราการ (Mount Fortress) เป็นสิ่งปลูกสร้างของพระนิกายเยซูฮิต และตั้งใจก่อร่างให้เป็นดั่งอะโครโปลิสแห่งมาเก๊า ซากโบราณสถานที่ยังหลงเหลืออยู่ของวิทยาลัยเซนต์ปอล คือ ประจักษ์พยานการก่อตั้งมหาวิทยาลัยของตะวันตกในภูมิภาคตะวันออกไกล และได้รับการวางหลักสูตรการศึกษาไว้อย่างพิถีพิถัน ขณะที่ซากโบสถ์เซนต์ปอลที่หลงเหลือปัจจุบันถูกนำมาใช้ดุจดั่งแท่นบูชาประจำเมือง และนับเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก และพบที่นี่”มาเก๊า” เพียงแห่งเดียวในโลก และเปิดให้ชมตั้งแต่ 09.00-18.00 น.

No Comments

No comments yet.

RSS feed for comments on this post.

Sorry, the comment form is closed at this time.